อุปกรณ์ต่อพวงบนคอมพิวเตอร์
1. เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ (Printer)
เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ในการแปลผลลัพธ์ที่ได้จาก การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร ์ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ นับเป็นอุปกรณ์แสดลงผลที่นิยมใช้ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เป็นเครื่องพิมพ์ที่นนิยมใช้งานกันแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากราคา และคุณภาพการพิมพ์อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้หลักการสร้างจุด ลงบน กระดาษโดยตรง หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึก ลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดขึ้น การพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดัง พอสมควร ความคมชัดของข้อมูลบน กระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุด ถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น ความเร็ว ของเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์อยู่ระหว่าง 200 ถึง 300 ตัวอักษรต่อวินาที หรือประมาณ 1 ถึง 3 หน้าต่อนาที เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้ หลาย ๆ ชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ ซึ่งกระดษาประเภทนี้จะมีรูข้างกระดาษทั้งสองเอาให้ หนามเตยของเครื่องพิมพ์เลื่อนกระดาษ
2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)
เครื่องพิมพ์พ่นหมึก เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพการพิมพ์ที่ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ โดยสามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่งกันมาก ๆ รวมไปถึง พิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์ คมชัดว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นหมึก ใช้ในการพิมพ์ก็คือ การพ่นหมึกหยดเล็ก ๆ ไปที่กระดาษ หยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้ว เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพ ตามความต้องการ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกมีความเร็วในการพิมพ์ มากว่าแบบดอตแมทริกซ์ มีหน่วยวัดความเร็วเป็นในการ พิมพ์เป็น PPM (Page Per Minute) ซึ่งเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์มาก อย่างไรก็ตามถ้าเป็นการพิมพ์ กราฟิกหรือตัวอักษรที่มีรูปแบบในเวลาเดียวกัน เครื่องพิมพ์พ่นหมึกจะทำงานได้ช้าลง กระดาษที่ใช้กับเครื่อง พิมพ์พ่นหมึกจะเป็นขนาด 8.5 X 11 นิ้ว หรือ A4 ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ ทั้งแนวตั้งที่เรียกว่า "พอร์ทเทรต" (Portrait) และแนวนอนที่เรียกว่า "แลนด์สเคป" (Landscape) โดยกระดาษจะถูกวางเรียงซ้อนกัน อยู่ในถาด และถูกป้อน เข้าไปในเครื่องพิมพ์ที่ละแผ่นเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร
3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องที่มีคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่สามารถทำงาน ได้เร็วกว่า โดยเครื่องพิพม์เลเซอร์ สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้ทุกรูปแบบและทุกขนาดรวมทั้งสามารถพิมพ์งาน กราฟิกที่คมชัดได้ด้วย เครื่องเลเซอร์ใช้เทคโนโลยี เดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบน กระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษรบนกระดาษ
หน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะเป็น PPM เช่นเดียวกับ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกในปัจจุบัน ความสามารถ ในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์คุณภาพสูง สามารถพิมพ์ได้หลายร้อยหน้าต่อนาที ซึ่งเหมาะ กับงานในองค์กรขนาดใหญ่ จะนำไปใช้งานในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ส่วนคุณภาพงานพิมพ์ของเครื่องจะวัด ด้วยความละเอียดในการสร้างจุดลงในกระดาษ ขนาด 1 ตารางนิ้ว เช่นความละเอียดที่ 300 dpi หรือ 600 dpi หรือ 1200 dpi เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ก็จะมีทั้งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบ ขวา-ดำ และเครื่องพิมพ์ เลเซอร์แบบสี ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบสีจะมีราคาแพงมาก แต่งานพิมพ์ที่ได้ออกมาก็มีคุณภาพสูง
4. พล็อตเตอร์ (plotter)
พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษเหมาะสำหรับงาน เกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม (เขียนลงบนกระดาษไข) และงานตกแต่งภายใน สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิก
พล็อตเตอร์ทำงานโดยใช้วิธีเลื่อนกระดาษ โดยสามารถใช้ปากกาได้ 6-8 สี ความเร็วในการทำงานของ พล็อตเตอร์มีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inches Per Secon : IPS) ซึ่งหมายถึงจำนวนนิ้วที่พล็อตเตอร์สามารถ เลื่อนปากกาไปบนกระดาษ
2. เครื่องสแกนภาพ (Scanner)
สแกนเนอร์ (Scanner) คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของ อนาล็อกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแสดง เรียบเรียง เก็บรักษาและผลิต ออกมาได้ ภาพนั่นอาจจะเป็น รูปถ่าย ข้อความ ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆ ได้ดังนี้
- ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
- บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์
- แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์
- เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงในในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ โดยพื้นฐานการทำงานของสแกนเนอร์
ชนิดของสแกนเนอร์ และความ สามารถในการทำงาน ของสแกนเนอร์แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
1. Flatbed scanners ซึ่งใช้สแกนภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ต่าง ๆ สแกนเนอร์ชนิดนี้มีพื้นผิวแก้วบนโลหะที่เป็นตัวสแกน เช่น ScanMader III
2. Transparency and slide scanners ScanMaker ซึ่งถูกใช้ สแกนโลหะโปร่ง เช่นฟิล์มและสไลด์ ตัวอย่างของสแกนเนอร์ชนิดนี้ เช่น ScanMaker 35t ที่ใช้สแกนเนอร์ 35 mm และ ScanMake 45t ใช้สแกนเนอร์ ฟิล์มขนาด 8"x10"การทำงานของสแกนเนอร์ การจับภาพ ของสแกนเนอร์ ทำโดย ฉายแสงบนเอกสารที่จะสแกน แสงจะผ่านกลับไปมาและภาพจะถูกจับโดยเซลล์ ที่ไว ต่อแสง เรียกว่า Charge-couple device หรือ CCD ซึ่งโดยปกติพื้นที่มืดบน กระดาษจะสะท้อนแสง ได้น้อยและพื้นที่ที่สว่างบนกระดาษจะสะท้อนแสง ได้มาก กว่า CCD จะสืบหาปริมาณแสงที่สะท้อนกลับจากแต่ละพื้นที่ของภาพนั้น และ เปลี่ยนคลื่นของแสง ที่สะท้อนกลับมาเป็นข้อมูลดิจิตอลหลังจากนั้นซอฟต์แวร์ ที่ใช้สำหรับการสแกนภาพก็จะแปลงสัญญาณเหล่านั่นกลับมาเป็นภาพบนคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง
- SCSI และสาย SCSI หรือ Parallel Port สำหรับต่อจากสแกนเนอร์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
- ซอฟต์แวร์สำหรับการสแกนภาพซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของสแกนเนอร์ให้สแกนภาพตามที่กำหนด
- สแกนเอกสารเก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำมาแก้ไขได้อาจต้องมีซอฟแวร์ที่สนับ สนุนด้าน OCR
- จอภาพที่เหมาะสมสำหรับการแสดงภาพที่สแกนมาจากสแกนเนอร์
- เครื่องมือสำหรับแสดงพิมพ์ภาพที่สแกน เช่น เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ หรือสไลด์โปรเจคเตอร์
สิ่งที่จำเป็นสำหรับการสแกนภาพ มีดังนี้
ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้
- ภาพ Single Bit เป็นภาพที่มีความพยาบมากที่สุดใช้พื้นทีในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด และนำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากร จองเครื่องน้อยที่สุดใช้พื้นที ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกน ภาพน้อยที่สุด Single Bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ - Line Art ได้แก่ภาพที่มีประกอบเป็นภาพขาวดำตัวอย่างของภาพ พวกนี้ได้แก่ ภาพจากการสเก็ต Halfone ภาพพวกนี้จะให้เป็นสีโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single Bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบ ๆ
- ภาพ Gray Scale ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉด สีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึก มากขึ้นกว่าเดิม ภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจุดของภาพอาจประกอบ ด้วยจำนวนบิตมากกว่า ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น
- ภาพสี หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วย จำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมากความ สามารถ ในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาด ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับสแกนเนอร์มีขนาดความละเอียด เท่าไร
. โมเด็ม (Modem)
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภาย นอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบ คอมพิวเตอร์ของเราสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถ ทำงานของเราสามารสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงาน ของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วย การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคุ่สายของ โทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็ม จะทำการแปลงสัญญาณ ดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณ อนาล๊อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
คำว่า โมเด็ม (Modem) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล๊อกแล้วจึง สัญญาณกลับไปเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของเราต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่น
ความสามารถของโมเด็ม เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่าง ๆ ได้หลายอย่าง เช่น
- ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน เช่นสั่งซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ต
- ท่องไปบนอินเตอร์เน็ต
- เข้าถึงบริการออนไลน์ได้
- ดาวน์โหลดข้อมูล , รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้
- ส่ง - รับโทรสาร
- ตอบรับโทรศัพท์
ความแตกต่างของโมเด็ม
1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ ความเร็วในการรับ-ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็ม สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็ม อื่นๆ มีหน่วยเป็นบิต /วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/ วินาที (kbps) ในการบอกถึง ความเร็วขอโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการ พูดและจดจำ
2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้น สามารทำให้มีขนาดกะทัดรัด ด้วย วิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวน มากๆ
3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร(Fax capabilities) ได้ดีเช่น เดียวกับ การรับ ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟแวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้ แฟคซ์ โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์ (printer) ได้เมื่อเราพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสาร ของเราไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่าง ๆ มากมาย หลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่า จะไม่ข้อมูลใด ๆสูญหายไประหว่างการส่ง ถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่ว ๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติด ตั้งภายนอก (external modems) และแบบติดตั้งภายใน (internal modems)
6.ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถ ในการรับ/ ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย
2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้น สามารทำให้มีขนาดกะทัดรัด ด้วย วิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวน มากๆ
3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร(Fax capabilities) ได้ดีเช่น เดียวกับ การรับ ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟแวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้ แฟคซ์ โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์ (printer) ได้เมื่อเราพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสาร ของเราไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่าง ๆ มากมาย หลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่า จะไม่ข้อมูลใด ๆสูญหายไประหว่างการส่ง ถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่ว ๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติด ตั้งภายนอก (external modems) และแบบติดตั้งภายใน (internal modems)
6.ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถ ในการรับ/ ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น